กองทุน RMF
RMF ย่อมาจากคำว่า Retirement Mutual Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็น กองทุนรวมประเภทหนึ่ง (กองทุนรวม หมายถึงการนำเงินของผู้ลงทุนหลายๆ คนมารวมกัน แล้วมีมืออาชีพซึ่งก็คือ บริษัทจัดการ คอยบริหารจัดการเงินตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้) ซึ่งมีวัตถุประสงค์พิเศษแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป คือ RMF เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสะสมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ทางการให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ เหมาะ กับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ยังไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มารองรับ หรือมีสวัสดิการดังกล่าวแต่ยังมีกำลังออมเพิ่มมากกว่านั้นได้อีก
นโยบายการลงทุนของRMFมีนโย บายการลงทุนให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงปานกลางที่อาจผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสาร หนี้และตราสารทุน ไปจนถึงกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (warrant)
RMF มีข้อแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วๆ ไปอย่างไร
1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็น หลักประกันได้
3. ไม่มีการจ่ายเงินปันผล
1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็น หลักประกันได้
3. ไม่มีการจ่ายเงินปันผล
เงื่อนไขการลงทุนของ RMF เป็นอย่างไร
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การลงทุนใน RMF มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
• ต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
• ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ
5,000 บาท (แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า)
• ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
• ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดที่ไม่มีเงินไดก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3%
ของเงินได้ 0 บาท เท่ากับ 0 บาท)• การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การลงทุนใน RMF มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
• ต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
• ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ
5,000 บาท (แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า)
• ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
• ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดที่ไม่มีเงินไดก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3%
ของเงินได้ 0 บาท เท่ากับ 0 บาท)• การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF มีอะไรบ้าง
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน RMF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน RMF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
กองทุน LTF
LTF ย่อมาจากคำว่า Long Term Equity Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน (ซึ่งก็คือ กองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ การเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลง ทุน เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่อาจไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น หรือไม่มีเวลาจึงลงทุนผ่านกองทุนรวม ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน และเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงทุนได้
นโยบายการลงทุนของLTF มีนโยบายการลงทุนแบบเดียว คือ ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยอาจเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET50 หุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลงทุน
ในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของแต่ละ LTF
ในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของแต่ละ LTF
LTF มีข้อแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วๆ ไปอย่างไร
1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นหลักประกันได้
3. เป็นกองทุนเปิด ซึ่งกำหนดให้ขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง
1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นหลักประกันได้
3. เป็นกองทุนเปิด ซึ่งกำหนดให้ขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง
เงื่อนไขการลงทุนของ LTF เป็นอย่างไร
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การลงทุนใน LTF มีเงื่อนไขว่า เมื่อผู้ลงทุนซื้อ LTF แล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน โดยเริ่มนับตั้งแต่ปีที่มีการลงทุนครั้งแรกเป็นปีที่ 1 และนับก้อนเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปี เช่น ลงทุนในระหว่างปี 2547 จะครบ 5 ปีตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 ลงทุนในระหว่างปี 2548 จะครบ 5 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป)
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ LTF มีอะไรบ้าง
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน LTF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน LTF จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน LTF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน LTF จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
กองทุนETF
ETF หรือ “Exchange Traded Fund” คือ กองทุนเปิดที่ลงทุนในหุ้นทุน และจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถ้ามาดูตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษแต่ละคำที่ประกอบขึ้นได้ดังนี้
-Exchange: หมายความว่า มีการนำหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนในตลาดรอง (secondary market)หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ (the stock exchange)
-Traded: หมายความว่า สามารถทำการซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือโบรกเกอร์ ได้เสมือนกับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตัวหนึ่ง ดังนั้น สภาพคล่อง (liquidity) ของกองทุน ETF จึงไม่ต่างจากหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วๆ ไปที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถทราบราคาซื้อขายได้ในทันทีแบบ Real Time อีกด้วย
-Fund: หมายความว่า กองทุน ETF เป็นกองทุนรวม (mutual fund) ประเภทหนึ่งโดย ETF เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เน้นการสร้างผลตอบแทนให้เท่ากับดัชนีอ้างอิง อาทิ ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคาหุ้น SET50 ดัชนีราคาตราสารหนี้ เป็นต้น
ETF ที่ลงทุนในตราสารทุนกองแรกของประเทศไทยใช้ดัชนีราคาหุ้น SET50 เป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ผู้จัดการกองทุนจะรวบรวม
เงินลงทุนจากกลุ่มผู้ร่วมลงทุนไปซื้อหุ้นในกลุ่ม SET50 โดยมีวัตถุประสงค์การลงทุนให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีราคาหุ้น SET50 มากที่สุด ดังนั้น พอร์ตการลงทุนจึงประกอบไปด้วยหุ้น 50 ตัวที่มีพื้นฐานดี มีมูลค่าตามราคาตลาด (market capitalization) อยู่ในระดับสูง และเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของนักลงทุน มีการหมุนเวียนของการซื้อขายโดยตลอดหรือมีสภาพคล่องสูง
เงินลงทุนจากกลุ่มผู้ร่วมลงทุนไปซื้อหุ้นในกลุ่ม SET50 โดยมีวัตถุประสงค์การลงทุนให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีราคาหุ้น SET50 มากที่สุด ดังนั้น พอร์ตการลงทุนจึงประกอบไปด้วยหุ้น 50 ตัวที่มีพื้นฐานดี มีมูลค่าตามราคาตลาด (market capitalization) อยู่ในระดับสูง และเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของนักลงทุน มีการหมุนเวียนของการซื้อขายโดยตลอดหรือมีสภาพคล่องสูง
ดัชนี SET50 (SET50 Index) เป็นหนึ่งในดัชนีราคาหุ้นสามัญที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สร้างขึ้นมา เพื่อสะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 ตัวที่มีสภาพคล่อง และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูง จนถือได้ว่าเป็นตัวแทนมูลค่าของหุ้นสามัญส่วนใหญ่ในตลาด โดยถูกคำนวณขึ้นด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization Weight) ตามสูตรต่อไปนี้
1. ราคาซื้อขาย (trading price)
คือ ราคาซื้อ (bid) และราคาขาย (offer) ที่ปรากฎอยู่บนกระดานซื้อขาย ETF ซึ่งราคานี้จะถูกกำหนดโดยความต้องการซื้อ และ
ความต้องการขาย ของผู้ลงทุน ETF ในตลาด
คือ ราคาซื้อ (bid) และราคาขาย (offer) ที่ปรากฎอยู่บนกระดานซื้อขาย ETF ซึ่งราคานี้จะถูกกำหนดโดยความต้องการซื้อ และ
ความต้องการขาย ของผู้ลงทุน ETF ในตลาด
2. มูลค่าต่อหน่วย (net asset value: NAV)
คือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนต่อหน่วย ซึ่งคำนวณจากราคาซื้อขายของหุ้นที่เป็นองค์ประกอบใน SET50 Index ณ สิ้นวันทำการ แต่สำหรับ Equity ETF แล้ว บริษัทจัดการที่เป็นผู้จัดการกองทุน Equity ETF จะมีการคำนวณและรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณทุกนาทีตลอดเวลาทำการซื้อขาย ซึ่งมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณนี้เรียกว่า Indicative NAV (INAV)การลงทุนใน ETF ในตลาดหลักทรัพย์สำคัญๆ ในต่างประเทศได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีสภาพคล่องจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นเสมือนการลงทุนในหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของการ คำนวณดัชนีทั้งหมด ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนคือซื้อ TDEX 1 หน่วย เหมือนได้ซื้อหุ้น 50 ตัวพร้อมกัน
คือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนต่อหน่วย ซึ่งคำนวณจากราคาซื้อขายของหุ้นที่เป็นองค์ประกอบใน SET50 Index ณ สิ้นวันทำการ แต่สำหรับ Equity ETF แล้ว บริษัทจัดการที่เป็นผู้จัดการกองทุน Equity ETF จะมีการคำนวณและรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณทุกนาทีตลอดเวลาทำการซื้อขาย ซึ่งมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณนี้เรียกว่า Indicative NAV (INAV)การลงทุนใน ETF ในตลาดหลักทรัพย์สำคัญๆ ในต่างประเทศได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีสภาพคล่องจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นเสมือนการลงทุนในหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของการ คำนวณดัชนีทั้งหมด ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนคือซื้อ TDEX 1 หน่วย เหมือนได้ซื้อหุ้น 50 ตัวพร้อมกัน
1. กำไรจากส่วนต่างของราคา (capital gain)
โดยหากผู้ลงทุนที่สามารถซื้อหน่วย ETF ในราคาต่ำแล้วสามารถขายได้ในราคาสูงกว่าตอนที่ซื้อมา จะได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา
โดยหากผู้ลงทุนที่สามารถซื้อหน่วย ETF ในราคาต่ำแล้วสามารถขายได้ในราคาสูงกว่าตอนที่ซื้อมา จะได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา
2. เงินปันผล (dividend)
ผู้ลงทุนจะได้รับเงินปันผลจากการถือหน่วย ETF ซึ่งได้มาจากเงินปันผลของบริษัทที่เป็นองค์ประกอบ ของ SET50 Index
โดยผู้จัดการกองทุนจะจัดสรรเงินปันผลหลังจากหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุน
ผู้ลงทุนจะได้รับเงินปันผลจากการถือหน่วย ETF ซึ่งได้มาจากเงินปันผลของบริษัทที่เป็นองค์ประกอบ ของ SET50 Index
โดยผู้จัดการกองทุนจะจัดสรรเงินปันผลหลังจากหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุน
ความเสี่ยงจากการลงทุนใน ETF
ผู้ลงทุนใน ETF มีความเสี่ยงจากปัจจัยลบที่อาจจะมีผลกระทบเชิงลบต่อระดับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีข่าวสารเกี่ยวกับตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก ดัชนี SET50 อาจปรับตัวลดลงส่งผลกระทบต่อราคา SET50 ETF ที่ผู้ลงทุนถือไว้อาจมีราคาลดลงได้ ทำให้ผู้ลงทุนอาจขายหน่วย ETF ได้ในราคาที่ต่ำกว่าตอนที่ซื้อมาตอนแรก
ผู้ลงทุนใน ETF มีความเสี่ยงจากปัจจัยลบที่อาจจะมีผลกระทบเชิงลบต่อระดับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีข่าวสารเกี่ยวกับตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก ดัชนี SET50 อาจปรับตัวลดลงส่งผลกระทบต่อราคา SET50 ETF ที่ผู้ลงทุนถือไว้อาจมีราคาลดลงได้ ทำให้ผู้ลงทุนอาจขายหน่วย ETF ได้ในราคาที่ต่ำกว่าตอนที่ซื้อมาตอนแรก
นอกจากนี้
ผู้ลงทุนยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เรียกว่า Tracking Error Risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ผลตอบแทนของหน่วย ETF ไม่เท่ากับ
อัตราผลตอบแทนของดัชนีได้ 100%
ผู้ลงทุนยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เรียกว่า Tracking Error Risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ผลตอบแทนของหน่วย ETF ไม่เท่ากับ
อัตราผลตอบแทนของดัชนีได้ 100%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น